'มา ร์ค'ยืนยันทำรัฐสวัสดิการประชาชนธ.ค.

Sunday, July 4, 2010


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายเกี่ยวกับกรณีนโยบายลดภาระค่าครอง ชีพประชาชนในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ให้เป็นนโยบายถาวร ว่า หลังเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติต่ออายุการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องค่าไฟฟ้า รถเมล์ และรถไฟ ให้ไปถึงสิ้นเดือนธ.ค. ส่วนกรณีก๊าซหุ้งต้มที่จะหมดอายุในสิ้นเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติต่ออายุไปจนอีก 6 เดือน ในการตรึงราคาทั้งก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจี
หลังจาก ที่รัฐบาลได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ออกไป ก็ได้มีข่าวออกมาว่าครม.จะตัดสินใจประกาศนโยบายการช่วยเหลือประชาชนให้เป็น นโยบายถาวร ซึ่งได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างในแนวคิดดังกล่าว ทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้านแนวคิดดังกล่าว รวมทั้งยังตำหนิว่านโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องของนโยบานยประชานิยม และอาจจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศในอนาคต อีกทั้งจะไปบิดเบือนกลไลตลาดได้
นโยบายดัง กล่าวที่อยากจะชี้แจง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องราคาจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ เช่น กรณีของแอลพีจีที่มีการถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งที่มาก๊าซแอลพีจี หรือก๊าาซหุ้งต้มที่ใช้อยู่ประเทศไทยในเวลานี้ มาจากสองแหล่ง คือ แหล่งที่มาจากภายในประเทศ ซึ่งมีราคาซื้อขายในราคาเดียวกับในตลาดโลก เรื่องนี้ก็มีถกเถียงกันมาโดยตลอดว่าราคาที่มีการซื้อขายกันอยู่นี้จำเป็น ที่จะต้องใช้ในราคาเดียวกับตลาดโลกหรือไม่
"ในเรื่อง นี้ส่วนตัวก้เป็นคนหนึ่งที่ยืนยันว่า ถ้าทรัพยากรดังกล่าวมีปริมาณเพียงพอสำหรับคนไทยที่ใช้อยู่ภายในประเทศ ผมถือว่าคนภายในประเทศควรจะต้องสามารถซื้อในราคาที่มีความเหมาะสม โดยไม่ต้องไปอิงกดับราคาในตลาดโลกเสมอไป เนื่องจากราคาก๊าซหุ้งต้มไม่สินค้าฟุ่มเฟือย และพี่น้องประชาชนก็ใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ แต่ที่เกิดปัญหา คือ การใช้ก๊าซแอลพีจีนั้น ได้มีใช้เกินจากปริมาณการผลิตภายในประเทศที่สามารถผลิตได้ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้าจากประเทศ และเมื่อต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้รัฐบาลรัฐบาลจะต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันไปชดเชยในส่วนนี้" นายกฯ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า จากปัญหาเรื่องนี้ที่ประชุมครม.จึงเห็นว่าเดิมก๊าซธรรมชาติ ที่เดิมเป็นของรัฐบาล 100% แต่ในขณะนี้ปตท.ได้มีการขายหุ้นไปยังเอกชนเป็นเจ้าของไปครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ทำให้รัฐบาลมองเห็นว่าหากจะมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนก็น่าเป็นเรื่อง ที่เหมาะสม ส่วนปัญหาปริมาณการใช้กับปริมาณการผลิตที่ไม่เท่ากันนั้น จากที่ตนได้มีการตรวจสอบข้อมูลตัวเลขพบว่า การเติบโตของการใช้ก๊าซแอลพีจี มาจากภาคอุตสาหกรรมปิโตเคมี ส่วนปริมาณการใช้ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม มีจำนวนที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่ประเทศไทย เราสามารถผลิตได้เอง